แนะนำการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
 

                       อกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
                       
 
 การตรวจรับอกสารคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

          เอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

1. คำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร(อ.1/1) ดาวน์โหลดเอกสารฟรี ใช้ยื่นพร้อมกัน
จำนวน 3 ฉบับ(หนังสือคำรับรองสิทธิ์ ใช้ 1 ฉบับ) เครื่องจักรตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นเอกสารหลักฐานข้อ 2 - 12 จำนวน 2 ชุด
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์จาก กระทรวงพานิชย์ออกให้ไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันรับคำขอ (ใช้กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคล)
2.1. และสำเนาหนังสือรับรองตราประทับจากกระทรวงพาณิชย์
3. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามในคำขอ
4. หนังสือมอบอำนาจ (Word / PDF) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนา  บัตรประจำตัวประชาชนของ ผู้รับมอบอำนาจ (ใช้กรณีตั้งตัวแทน) 
5. เอกสารแสดงรายละเอียดเครื่องจักรตามผังวางเครื่องจักร DIW-07-LC-FR-02 (01) พร้อมการลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม
6. แบบรายการแสดงราคาเครื่องจักร DIW-07-AP-FG-01 (01) พร้อมการลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม
7. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งโรงงานหรืออาคารที่เครื่องจักรตั้งอยู่(อยู่ในคำขอ)
8. ผังวางเครื่องจักร แสดงการติดตั้งเครื่องจักร ถูกมาตราส่วนพร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุม
9. สำเนาเอกสาร/ใบอนุญาตของทางราชการที่ระบุรายละเอียดของสถานที่ตั้งเครื่องจักร และประเภทกิจการ หรือ กิจการอุตสาหกรรม เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ใช้กรณีสถานประกอบการที่เข้าข่ายเป็นโรงงานที่ต้องมีใบอนูญาตประกอบกิจการโรงงาน) ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ใบทะเบียนการค้า ฯลฯ
10. หนังสือยินยอมให้ติดตั้งเครื่องจักร ( ใช้กรณีเครื่องจักรติดตั้งไว้ที่  สถานประกอบการของผู้อื่น)
10.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลฉบับปีปัจจุบัน จากกระทรวงพาณิชย์ ของผู้ยินยอมให้ตั้งเครื่องจักร
10.2 สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามใน  หนังสือยินยอมให้ตั้งเครื่องจักร
11. รูปถ่ายเครื่องจักร ให้มีขนาด 10 ซม. x 15 ซม. แสดงด้านหน้า ด้านข้าง และอัดล้างภาพจากร้านถ่ายรูปหรือให้ใช้กระดาษพิมพ์ภาพ(Photo Glossy aper) เท่านั้น
12. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของเครื่องจักร เช่น กรณีเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศไทยใช้ใบเสร็จรับเงิน เครื่องจักรที่ซื้อจากต่างประเทศใช้ INVOICE ใบขนสินค้าขาเข้าจากกรมศูลกากร
13. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) ของวิศวกรที่ลงนาม ระดับภาคีวิศวกร (เครื่องกล หรืออุตสาหการ) ขึ้นไป
...............................................................................................................
14. ค่าธรรมเนียม (จะเรียกเก็บเมื่อหลังครบประกาศฯแล้ว)
( 1 ) เครื่องจักรซึ่งมีมูลค่าเกินห้าแสนบาท เครื่องละ 750.- บาท
( 2 ) เครื่องจักรซึ่งมีมูลค่าเกินหนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินห้าแสนบาท เครื่องละ 600.- บาท
( 3 ) เครื่องจักรซึ่งมีมูลค่าเกินห้าหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทเครื่องละ 350.- บาท
( 4 ) เครื่องจักรซึ่งมีมูลค่าไม่เกินห้าหมื่นบาท เครื่องละ 60.- บาท
หรือถ้า
จดทะเบียนหลายเครื่องในโรงงานเดียวกันและคราวเดียวกัน
ไม่เกิน12,000.- บาท
- ค่าเครื่องหมายการจดทะเบียนฯซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
เครื่องหมายละ 120.- บาท
หรือถ้าประทับไว้หรือทำไว้หลายเครื่องในโรงงานเดียวกันและคราวเดียวกัน
ไม่เกิน 1,200.- บาท
การตรวจรับเอกสารคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

1. ผู้ยื่นคำขอ ต้องเป็นเจ้าของเครื่องจักร หรือ ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของเครื่องจักร ใช้ คำขอ อ.1/1ดาวน์โหลดฟรี ใช้ยื่นพร้อมกันจำนวน 3 ฉบับ (หนังสือคำรับรองสิทธิ์ ใช้ 1 ฉบับ)
การกรอกข้อความจะต้องคำนึงถึง
รายละเอียดดังต่อไปนี้


1.1 วันที่ระบุในคำขอ ต้องเป็นวันเดียวกันกับวันที่รับคำขอ
1.2 ชื่อและที่อยู่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
กรณีที่ 1 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นบุคคลธรรมดา ใช้ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน
กรณีที่ 2 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นนิติบุคคลใช้ที่อยู่ตามหนังสือรับรองการ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
กรณีที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นส่วนราชการ ใช้ที่อยู่ของส่วนราชการนั้นๆ
1.3 จำนวนเครื่องและรายการเครื่องจักรที่ขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ หากไม่สามารถ กำหนดได้ ให้ระบุ  ข้อความเช่น ตามจำนวนและรายการที่ทางราชการประกาศ หรือตามเอกสารแนบท้าย เป็นต้น                                  
1.4 ชื่อที่อยู่โรงงาน เลขที่ตั้ง และประเภทกิจการอุตสาหกรรมระบุรายละเอียดตามสำเนา เอกสารใบอนุญาตของทางราชการเช่นใบอนุญาตโรงงาน ใบทะเบียนการค้าใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล ฯลฯ เป็นต้น
1.5 การลงนามในคำขอ จะต้องเป็นลายมือชื่อของเจ้าของเครื่องจักร ตามข้อ 1.2 เท่านั้น หากเป็นนิติบุคคลให้ดำเนินการตามหนังสือนิติบุคคลนั้นๆ
1.6 ต้องแสดงแผนที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป

2. การตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเจ้าหน้าที่ตรวจรับเอกสารหลักฐาน

2.1 ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักร

1. ผู้ยื่นคำขอ ต้องเป็นเจ้าของเครื่องจักร หรือ ผู้รับมอบอำนาจ                    
   จากเจ้าของเครื่องจักร

คำขอ อ.1/1 มี 3 ฉบับระบุข้อความให้ตรงกัน(หนังสือคำรับรองสิทธิ์ ใช้ 1 ฉบับ)และ ในรายละเอียดของคำขอ อ.1/1 การกรอกข้อความจะต้องคำนึงถึง รายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1 วันที่ระบุในคำขอ ต้องเป็นวันเดียวกันกับวันที่รับคำขอ
1.2 ชื่อและที่อยู่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
กรณีที่ 1 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นบุคคลธรรมดา ใช้ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน
กรณีที่ 2 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นนิติบุคคลใช้ที่อยู่ตามหนังสือรับรอง การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
กรณีที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นส่วนราชการ ใช้ที่อยู่ของส่วนราชการนั้นๆ
1.3 จำนวนเครื่องและรายการเครื่องจักรที่ขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ หากไม่สามารถ กำหนดได้ ให้ระบุ ข้อความเช่น ตามจำนวนและรายการที่ทางราชการประกาศ หรือ ตามเอกสารแนบท้าย เป็นต้น
1.4 ชื่อที่อยู่โรงงาน เลขที่ตั้ง และประเภทกิจการอุตสาหกรรม ระบุรายละเอียดตามสำเนา เอกสารใบอนุญาตของทางราชการเช่น ใบอนุญาตโรงงาน ใบทะเบียนการค้า ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ฯลฯ เป็นต้น
1.5 การลงนามในคำขอ จะต้องเป็นลายมือชื่อของเจ้าของเครื่องจักร ตามข้อ 1.2 เท่านั้น หากเป็นนิติบุคคลให้ ดำเนินการตามหนังสือนิติบุคคลนั้นๆ
1.6 ต้องแสดงแผนที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป

2. การตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐาน
2.1 ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
กรณีที่ 1 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นบุคคลธรรมดา ใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และ บัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้พร้อมรับรองสำเนา
กรณีที่ 2 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นนิติบุคคล ใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ฉบับปีปัจจุบันที่ออกให้ไม่เกิน3เดือน, สำเนาหนังสือ รับรองดวงตราประทับของนิติบุคคลจากกระทรวงพานิชย์ ฉบับปีปัจจุบันนับถึงวัน รับคำขอ,สำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจลงนาม ในคำขอฯพร้อมรับรองสำเนาและหากผู้ลงนามเป็นบุคคลต่างด้าวให้ใช้สำเนา PASSPORT หรือหนังสือใบอนุญาตทำงาน ( WORK PERMIT) พร้อมรับรองสำเนา
กรณีที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์เครื่องจักรเป็นส่วนราชการ ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัว ข้าราชการของส่วนราชการนั้นๆ
2.2 ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการให้ใช้แบบมอบอำนาจด้านหลังคำขอ อ.1/1 ฉบับสีขาวหรือจัดทำขึ้นเองโดยมีข้อความระบุอำนาจที่ชัดเจน และติดอากรแสตมป์จำนวน
30 บาท พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้รับมอบ
พร้อมรับรองสำเนา
2.3 พิจารณาหลักฐานกรรมสิทธิ์เครื่องจักร เช่น สำเนาใบเสร็จรับเงิน Invoice หรือ Bills of Lading หรือ หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์จากผู้ขาย เป็นต้น หากเป็นสำเนาต้องเซ็นรับรอง สำเนาโดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ การพิจารณาหลักฐานกรรมสิทธิ์ในการตรวจรับคำขอนี้เป็นเพียงการ ตรวจสอบคร่าวๆเพื่อรับคำขอ คงจะให ้ชัดเจนหรือถูกต้องกับเครื่องจักรที่จะต้องไปตรวจไม่ได้ แต่ขอให้พิจารณาดังนี้
2.3.1 การพิจารณาใบเสร็จรับเงิน ภายในใบเสร็จต้องระบุวัน เดือน ปีที่ซื้อ ชื่อผู้ซื้อ และผู้ขาย รายชื่อ และ/หรือ รายละเอียดเครื่องจักรราคาเครื่องจักร และมีการลงนามของผู้รับเงิน กรณีเป็นสำเนาใบเสร็จให้เจ้าของหรือผู้รับมอบอำนาจรับรองสำเนา
2.3.2 การพิจารณาหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ภายในหนังสือต้องระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองฯ ชื่อผู้ซื้อและผู้ขายรายชื่อและ/หรือรายละเอียดเครื่องจักร พร้อมทั้งมีรายละเอียดที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ซื้อได้ชำระเงินค่าเครื่องจักรครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ โดยสมบูรณ์ และผู้ขายลงนามถูกต้อง
กรณี ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาเอกสารที่พิจารณาแล้วทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นผู้ขายที่แท้จริง เช่น สำเนาใบ ภพ.20 ใบทะเบียนการค้า เป็นต้นพร้อมรับรองสำเนาโดยผู้ขายกรณี ที่ผู้ขายเป็นนิติบุคคลต้องมีสำเนา หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ฉบับปีที่ซื้อหรือ ปีปัจจุบัน สำเนาทะเบียนบ้าน /บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม และรับรองสำเนาการลงนามในหนังสือรับรอง การขายต้องเป็นไปตามข้อผูกพันของนิติบุคคลนั้นๆ
2.4 การพิจารณารูปถ่ายเครื่องจักร ให้ใช้รูปถ่ายขนาด 10 ซม. x 15 ซม. หรือภาพถ่ายขนาดใกล้เคียง และอัดล้างภาพจากร้านถ่ายรูปหรือให้ใช้กระดาษพิมพ์ภาพ เท่านั้น
2.5 สำเนาใบอนุญาตประกอบการเช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตให้ดำเนิน การสถานพยาบาล ใบทะเบียนการค้า เป็นต้น ต้องระบุรายละเอียดของสถานที่ตั้งเครื่องจักร ประเภทกิจการ กิจการอุตสาหกรรม ในกรณีสถานประกอบการที่เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประกอบการยื่นขอ พร้อมรับรองสำเนาโดยเจ้าของหรือผู้รับมอบอำนาจ
2.6 ผังวางเครื่องจักร ต้องแสดงการติดตั้งเครื่องจักร บอกขนาดที่ถูกต้อง หรือระบุมาตราส่วน ร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุมสาขาอุตสาหการ
2.7 แบบรายการแสดงราคาเครื่องจักรแนบท้ายคำขอฯเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นใน การประเมินเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรควบคุมและเจ้าของเครื่องจักร
2.8 กรณี ที่เจ้าของเครื่องจักรมิใช่เป็นเจ้าของสถานที่ตั้งเครื่องจักร ต้องมีหนังสือ ยินยอมให้ติดตั้งเครื่องจักร และต้องมีเอกสารประกอบ เช่นสำเนาใบอนุญาตโรงงาน ใบทะเบียนการค้า ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ฯลฯ และรับรองสำเนาโดยเจ้าของ สถานประกอบการนั้นๆ กรณี ที่เจ้าของสถานที่ตั้งเครื่องจักรเป็นบุคคลธรรมดา ต้องแนบสำเนาบัตร ประจำตัวประชาชน /ทะเบียนบ้านของ เจ้าของสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร พร้อมทั้งรับรองสำเนา กรณี ที่เจ้าของสถานที่ตั้งเครื่องจักรเป็นนิติบุคคล ต้องแนบสำเนา หนังสือรับรองนิติบุคคล นั้นๆพร้อมกับ สำเนาบัตรประจำตัว/ทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนาม และรับรองสำเนา

                       ........................................................................................................................


สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง กรมโรงงานอุตสาหกรรม
เลขที่ 75/6 ถนนพระราม 6
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0  2202 4055 - 73  Call Center : 0 2202 4068  โทรสาร : 0 2354 3126
E-mail Address : machine@diw.go.th